เอนไซม์ กับ จุลินทรีย์ หลายท่านคงมีคำถามในใจ และความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน ในสองสิ่งนี้ว่ามีความต่างกันอย่างไร และมีความเชื่อมโยงกันแบบไหน เราจะจัดการกับทั้ง เอนไซม์และ จุลินทรีย์อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตัวเรา สิ่งแวดล้อมและต่อโลกของเรา เริ่มจากที่บนโลกนี้ล้วนเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มากมายที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งมนุษย์ด้วยกันเองหรือสัตว์และพืชชนิดต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นระบบนิเวศ แต่รู้หรือไม่ นอกจากสิ่งมีชึวิตที่ทุกคนเห็นจนชินตา รู้จักจนคุ้นชิน ยังมีสิ่งมีชึวิตอีกหลายชนิดที่หลบซ่อนอยู่ ด้วยขนาดตัวที่เล็กมาก จนเราไม่สามารถมองเห็นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งบางชนิดช่วยให้ระบบนิเวศมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น นั่นคือ “จุลินทรีย์”
จุลินทรีย์ถูกค้นพบเมื่อใด
จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มีหลายสายพันธุ์ทั้งชนิดที่เป็นเซลล์เดียวและหลายเซลล์ เช่น แบคทีเรีย รา ยีสต์ สาหร่ายบางชนิด โปรโตชัว และไวรัส เป็นต้น ส่วนใหญ่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาสิ่งมีชึวิตเหล่านี้ ซึ่งการค้นพบจุลินทรีย์มาพร้อมกับการกำเนิดของกล้องจุลทรรศน์ด้วยเช่นกัน ถือเป็นก้าวสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของวงการชีววิทยาเลยก็ว่าได้
สมัยก่อนทุกคนมีความเชื่อว่า การเจ็บป่วยของโรคมาจากภูตผีปีศาจที่มองไม่เห็น วันหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ชื่อหลุยส์ปาสเตอร์ ได้ค้นพบกล้องจุลทรรศน์ และได้พบสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ซึ่งเราเรียกว่าจุลินทรีย์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Micro organism จากนั้นวงการของโลกก็ได้เปลี่ยนไปและเข้าใจว่าการเจ็บป่วยของโรคเกิดจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรียกว่าจุลินทรีย์ หลุยส์ปาสเตอร์ ได้พบว่า มีจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นมา และไปทำลายจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรค สร้างความตื่นเต้นให้หลุยส์ปาสเตอร์ ต่อมาหลุย์ปาสเตอร์จึงสกัดเอาสารที่ไปทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและสกัดยาปฏิชีวนะครั้งแรกของโลก ที่ชื่อว่าเพนนิซิลิน
การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ต่าง ๆ กับสิ่งมีชีวิตอื่น ระบบนิเวศ หรือแม้แต่จุลินทรีย์ด้วยกันเอง ทำให้รู้ว่าจุลินทรีย์สามารถแบ่งตามประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตอื่นหรือระบบนิเวศได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ “จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์” ทั้งต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่นและต่อการพัฒนาทางการแพทย์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ “จุลินทรีย์ที่มีโทษ” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ สัตว์ และพืช หรือที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสีย และ “จุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบนิเวศ” ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์หรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ หรือแม้แต่ช่วยย่อยของเสียในแหล่งน้ำทิ้ง อย่าง คราบโปรตีนและคราบไขมันต่าง ๆ
กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งตามแหล่งน้ำทิ้งหรือบ่อบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการใหญ่ ๆ ได้แก่ กระบวนการแบบใช้อากาศ (Aerobic digestion) และกระบวนการแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) โดยทั้งสองกระบวนการจะแตกต่างกันตรงชนิดของจุลินทรีย์ในน้ำทิ้ง ตัวรับอิเล็กตรอน และพลังงานที่ได้รับจากการย่อยสลาย แต่ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการลักษณะไหนก็ตาม จุลินทรีย์จะใช้กระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติที่เหมือนกัน
เอนไซม์ เกิดมาจากไหน
โดยปกติสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์และจุลินทรีย์บางชนิดจะสามารถผลิต “เอนไซม์” เพื่อย่อยสลายสารตั้งต้นที่เข้ามากระตุ้นสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้ ซึ่งสารตั้งต้นนั้นอาจเป็นได้ทั้งอาหารที่กินเข้าไปสำหรับสัตว์และมนุษย์ แต่สำหรับจุลินทรีย์บางชนิดจะหมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่พวกมันพบเจอในสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่และต้องการนำเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้ประโยชน์ จุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะผลิต “เอนไซม์” ขึ้น ด้วย “กระบวนการสังเคราะห์เอนไซม์ (enzyme synthesis)” ซึ่งจุลินทรีย์จะมีข้อมูลทางพันธุกรรมของสารตั้งต้นเป็นรหัส DNA เก็บไว้ที่นิวเคลียสภายในเซลล์
เอนไซม์ กับ จุลินทรีย์ เชื่อมโยงกันอย่างไร
เมื่อเหล่าจุลินทรีย์พบเจอกับสารตั้งต้นที่พวกมันต้องการนำมาใช้ประโยชน์ จุลินทรีย์จะกระตุ้นยีนเฉพาะที่ตรงกับรหัส DNA ของสารตั้งต้น เพื่อผลิต “เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับสารตั้งต้น” เมื่อยีนถูกกระตุ้น พวกมันจะทำการถอดรหัส DNA ให้เป็น Messenger Ribonucleic Acid (mRNA) ที่เป็นสารคำสั่งทางพันธุกรรม จากนั้นจะนำไปส่งที่ไรโบโซมภายในเซลล์ และไรโบโซมจะเปลี่ยน mRNA นั้น ๆ ให้เป็น “เอนไซม์ที่ใช้ย่อยสลายสารตั้งต้น” สุดท้าย เอนไซม์จะถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ย่อยสารประกอบอินทรีย์ต่อไป
เอนไซม์ กับ จุลินทรีย์ มีหลักการทำงานกันอย่างไร
จุลินทรีย์หนึ่งสายพันธุ์อาจมีความสามารถในการสังเคราะห์เอนไซม์เพื่อใช้ย่อยสลายสารตั้งต้นได้มากกว่า 1 ชนิด เช่น จุลินทรีย์ที่สามารถผลิต “เอนไซม์โปรติเอส (Protease)” ที่ใช้ย่อยโปรตีนได้ และผลิตเอนไซม์ไลเปส (Lipase) ที่ใช้ย่อยไขมันได้ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะไปทำลายพันธะโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ให้มีหน่วยที่เล็กลง เช่น เอนไซม์โปรติเอสจะทำลายพันธะของโปรตีนได้กลายเป็บเปปไทด์หรือกรดอะมิโน ส่วนเอนไซม์ไลเปสจะทำลายพันธะของไขมันให้กลายเป็นกรดไขมัน
สารตั้งต้นหรือสารประกอบอินทรีย์ที่มีขนาดหน่วยโมเลกุลที่เล็กลงมากพอแล้ว จุลินทรีย์ก็จะสามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยการทำงานของจุลินทรีย์ คือ “โครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ในน้ำทิ้ง” หากมีโครงสร้างโมเลกุลที่เล็กอยู่แล้ว จุลินทรีย์ย่อยสลายจะสามารถทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้โครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ในน้ำทิ้งเล็กลง ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทิ้งหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ก็คือ ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้า “ไบโอ โพตอน (Bio Photon)” ซึ่งในบทความหน้า เราจะมาบอกเรื่องราวดี ๆ ของ “Bio Photon” รับรองว่า “ดีต่อเส้นใยผ้า ดีต่อผู้ใช้งาน และดีต่อโลก” ด้วยเช่นกัน
ผลิตภัณฑ์ Bioway สกัดเอนไซม์จากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นนวัตกรรมจากฝีมือนักวิจัยไทย ที่ได้รับการพิสูจน์คุณภาพและความพึงพอใจจากลูกค้ามายาวนานกว่า 10 ปี
หากต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Line ID : https://lin.ee/BAJDB0i
Tel. : 081-011-9993, 081-997-2204
Facebook : BiowayNature https://goo.gl/pthpfc
Ig : https://www.instagram.com/biowaynature2020